รามคำแหง (Ramkhamhaeng) ![]() ![]() ที่ตั้งและแผนที่ สถานที่ติดต่อ : 124 ม.2 ต.คีรีมาศ อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย 64160 โทรศัพท์ : 098 883 9297 E-mail : Ram_2523@hotmail.com หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ: นายวิชัย ท้าวใจวงศ์ ตำแหน่ง : นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ ชาวไทย : ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท อัตราค่าบริการสำหรับยานพาหนะ : คลิก **หมายเหตุ เมื่อชำระค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติแล้วกรุณาพกบัตรค่าบริการติดตัว ขณะท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเพื่อการตรวจสอบ ร้านค้าสวัสดิการ เปิดให้บริการทุกวันเวลา 08.00 น. - 16.30 น. สัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่ 1. บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ : AIS, DTAC
2. บริเวณลานกางเต็นท์ยอดเขาหลวง : AIS, DTAC (สัญญาณไม่เสถียร) สถานที่ท่องเที่ยว
ขนาดพื้นที่ 213125.00 ไร่ หน่วยงานในพื้นที่ หน่วยพิทักษ์ฯที่ รค.1 (น้ำตกสายรุ้ง) หน่วยพิทักษ์ฯที่ รค.2 (คลองสวน) หน่วยพิทักษ์ฯที่ รค.3 (ถ้ำพระแม่ย่า) หน่วยพิทักษ์ฯที่ รค.4 (อ่างเก็บน้ำคลองข้างใน) หน่วยพิทักษ์ฯที่ รค.5 (หนองเฒ่า) ลักษณะภูมิประเทศ อุทยานแห่งชาติรามคำแหง เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทอดตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ตั้งตระหง่านอยู่บนพื้นราบคล้ายจอมปลวกโดดเด่นอยู่กลางทุ่งนา ประกอบด้วยยอดเขาสำคัญ 4 แห่งด้วยกันคือ ยอดเขาพระเจดีย์ ยอดเขานารายณ์ ยอดเขาภูกา ยอดเขาพระแม่ย่า เป็นแหล่งต้นนำลำธารไหลลงไปหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมรอบๆอุทยานฯ ลักษณะภูมิอากาศ สภาพอากาศบนยอดเขาจะหนาวเย็นตลอดปีมีเมฆหมอกปกคลุมมากในช่วงฤดูหนาวและฤดูฝน บางเวลาจะมีลมแรง อุณหภูมิเฉลี่ยโดยประมาณ 12-14 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ฝนจะตกในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม และช่วงอากาศเย็นสบายที่สุดจะฮยู่ระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม พืชพรรณและสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติรามคำแหง มีสภาพป่าไม้ในเขตนับว่าสมบูรณ์มาก เหมาะแก่การศึกษาวิจัย และการพักผ่อนหย่อนใจ ประกอบไปด้วย ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และทุ่งหญ้าธรรมชาติ พรรณไม้ที่สำคัญได้แก่ สัก ตะเคียน มะค่าโมง มะค่าแต้ ประดู ฯลฯ และยังมีพืชสมุนไพรและว่านยาในสมัยกรุงสุโขทัย ขึ้นตามธรรมชาติอีกมากมาย
พื้นที่ป่ามีพืชอาหารสัตว์ สัตว์ป่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณภูเขาสูง ได้แก่ วัวแดง หมี เก้ง หมูป่า ลิง และเลียงผา เป็นต้น การเดินทาง การเดินทางเข้าอุทยานฯ มี2เส้นทางคือ
1.จากกรุงเทพ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย แยกซ้ายเข้าอุทยานแห่งชาติประมาณ 16 กิโลเมตร 2.กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 117 ถึงจังหวัดสุโขทัย เดินทางต่อเข้าอำเภอคีรีมาศ ตามทางหลวงหมายเลข 101 แยกขวาเข้าอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ประมาณ 16 กิโลเมตร แผนที่เส้นทาง
ภาพทิวทัศน์
แผนที่ผังบริเวณ
สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พัก และสถานที่กางเต็นท์ ที่พัก - รามคำแหง 104 (ชมดอย) ที่พัก - รามคำแหง 105 (ป่าลาง) ที่พัก - รามคำแหง 106 (ป่าขาม) ที่พัก - รามคำแหง 911 (ค่ายเยาวชนชาย) ที่พัก - รามคำแหง 912 (ค่ายเยาวชนหญิง) |