ข้อมูลทั่วไป เป็นประติมากรรมเสาดินธรรมชาติยิ่งใหญ่ เกิดจากน้ำกัดเซาะดินจนกลายเป็นรูปลักษณ์แปลกตาน่าอัศจรรย์ เรียงรายเป็นบริเวณกว้างอยู่กลางทุ่งนา คล้ายกับว่าเป็นเมืองแห่งตำนาน ละลุตั้งอยู่ที่ตำบลทัพราช คำว่า "ละลุ" เป็นภาษาเขมรแปลว่าแผ่นดินยุบตัวลงไป ซึ่งเกิดจากการยุบตัวของแผ่นดินเป็นบริเวณกว้าง แผ่นดินบริเวณที่เกิดละลุนี้มีลักษณะเป็นส่วนผสมของกรวด ทราย และลูกรัง ซึ่งมีคุณสมบัติการยึดเกาะตัวต่างกัน เมื่อเกิดการยุบตัวของแผ่นดิน หรือการกระทำจากธรรมชาติ เช่น ลม ฝน กระแสน้ำกัดเซาะ จึงได้รับผลกระทบต่างกันด้วย บริเวณที่สามรถยึดตัวกันแน่น ต้านทานการกัดเซาะของกระแสน้ำและลมได้ก็จะคงสภาพเป็นเสาดิน กำแพงดินหรือหน้าผาตั้งตระหง่านรูปทรงสวยงาม ปล่อยให้บริเวณแผ่นดินที่เปราะบางกว่าพังทลายเป็นหลุมลึกกว้าง ละลุจะเปลี่ยนรูปทรงได้ง่ายตามการกระทำของธรรมชาติในแต่ละช่วงเวลาโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่ฝนตกอย่างหนักจะทำให้ผิวดินบางส่วนพังทลายได้อย่างง่ายดาย ขณะที่เที่ยวชมความงามของละลุนี้อาจได้กลิ่นหอมเย็นจางๆ ของดอกไม้ ได้แก่ "สีดาดง" ซึ่งมีดอกสีขาวเต็มต้น ขึ้นโดดเดี่ยวท่ามกลางละลุ ส่งกลิ่นหอมหวนชวนดม กิจกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่ ถ่ายภาพ เดินศึกษาธรรมชาติ การเดินทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปตามถนนสายบุรีรัมย์-ตาพระยา มุ่งสู่อำเภอตาพระยา ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางตำบลทัพราชจนถึงหมู้บ้านทับทิมสยาม 03 ตรงไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงละลุ |
ภาพแหล่งท่องเที่ยว
ละลุ
ละลุ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 25 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางตำบลทัพราชจนถึงบ้านทัพทิมสยาม 03 ตรงไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ซึ่งละลุเกิดจากการยุบตัวของแผ่นดินบริเวณกว้าง มีส่วนผสมของกรวด ทราย และลูกรัง มีการยึดเกาะตัวต่างกัน เมื่อมีการกระทำของธรรมชาติ เช่น ฝน กระแสน้ำกัดเซาะ รับผลกระทบต่างกัน จึงเกิดสภาพเป็นเสาดิน กำแพงดิน รูปทรง ซึ่งละลุกระจายไปทั่วอุทยานฯ เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินทรายและกรวดและแห่งแล้ง พิกัด 48 P 272781 UTM 1564250 |
... เปิดอ่าน 3331 ครั้ง